ข้าวหอมนิล ข้าวเจ้าหอมสีนิล โภชนาการสูง

ข้าวหอมนิล หรือข้าวเจ้าพันธุ์หอมนิลเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดเลือกและพัฒนาสายพันธุ์จากข้าวเหนียวดำกับข้าวหอมมะลิ 105 จนได้ข้าวพันธุ์ที่มีเมล็ดข้าวกล้องเรียวยาว สีม่วงเข้มจนดำจึงเรียกข้าวสีนิล  ข้าวหอมนิลหรือข้าวสีนิล เป็นข้าวสายพันธุ์ข้าวเก่าแก่สายพันธุ์หนึ่งของไทย เป็นข้าวที่มีสีดำโดยกำเนิดจากการผสมข้ามพันธุ์

ข้าวหอมนิลมีลักษณะประจำพันธ์ คือ เป็นพันธุ์ข้าวนาสวน ไม่ไวแสง สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี การแตกกอดี  ไม่ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และแมลง  โดยทั่วไปใบและลำต้นมีสีเขียวเข้มอมม่วง เมล็ดข้าวกล้องยาวมีสีม่วงดำ  เปลือกหุ้มเมล็ดข้าวมีสีม่วงเข้มจนดำ  อายุการเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ต้านทานต่อโรคไหม้ ทนทานต่อสภาพแล้ง และดินเค็ม ข้าวหอมนิลมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระสูง ในเยื่อหุ้มเมล็ดที่เป็นสีม่วงเข้มประกอบไปด้วยสารแอนโทไซนานิน โปรแอนโทไซยานิน ไบโอฟลานอยด์ และวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และสามารถใช้เป็นสีผสมอาหารตามธรรมชาติ ในส่วนของรำและจมูกข้าวมีวิตามินอี และวิตามินบีและกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ในส่วนของรำ มีน้ำมันรำข้าว 18 เปอร์เซ็นต์ เป็นองค์ประกอบ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นชนิด C18:1 และC18:2 เหมือนกับน้ำมันที่ได้จากถั่วเหลืองและข้าวโพด และพบว่ามีสารโอเมก้า3  ประมาณ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณเส้นใยสูง และสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง รวมทั้งมีธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียมและโพแทสเซียมมากกว่าข้าวหอมมะลิทั่วไป

ข้าวเจ้าหอมนิลเป็นข้าวเพื่อสุขภาพ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง สามารถนำมาแปรรูปทางอุตสาหกรรมอาหารได้ดี เช่นผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวหอมนิล รวมทั้งขนมขบเคี้ยวต่างๆ

4.2
4.3

เปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของข้าวเจ้าหอมนิลเทียบกับข้าวขาวดอกมะลิ 105

คุณค่าทางโภชนาการข้าวเจ้าหอมนิลข้าวขาวดอกมะลิ 105
โปรตีน (เปอร์เซ็นต์)12.566.0
คาร์โบไฮเดรต (เปอร์เซ็นต์)70.080.0
ธาตุเหล็ก (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม)3.26
สังกะสี (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม)2.9
แคลเซียม (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม)4.2
โพแทสเซียม (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม)339.4
ทองแดง (มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม)0.1

ที่มาข้อมูล :  https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=27452

ผู้พัฒนาพันธุ์ รศ.ดร. อภิชาติ วรรณวิจิตร, ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา, ดร. สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง

หน่วยงาน      ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน จ.นครปฐม

เกษตรนวัตกรรม รวบรวมผลงานวิจัยนวัตกรรมทางการค้นตว้าวิจัยในวาระครบรอบ 72 ปี แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์